พลังงานนิวเคลียร์

พลังงานนิวเคลียร์


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นิวเคลียร์


พลังงานนิวเคลียร์ เป็นพลังงานรูปแบบหนึ่ง ที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ นิวเคลียร์ เป็นคำคุณศัพท์ของคำว่า นิวเคลียส ซึ่งเป็นแก่นกลางของอะตอมธาตุ ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคโปรตอน และนิวตรอน ซึ่งยึดกันได้ด้วยแรงของอนุภาคไพออน




ชนิดของพลังงานนิวเคลียร์ 



     พลังงานที่ถูกปล่อยออกมาจากแร่กัมมันตภาพรังสี จะปล่อยออกมาเมื่อมีการแยกหรือการรวม หรือเปลี่ยนแปลงของนิวเคลียสภายในอะตอม ซึ่งเรียกว่า ปฏิกิริยานิวเคลียร์ แบ่งได้เป็น ชนิด คือ



 1.ปฏิกิริยาฟิชชัน (Fission) เป็นพลังงานที่เกิดจากการแตกตัว หรือแยกตัวของธาตุหนัก เช่น ยูเรเนียม พลูโตเนียม เมื่อถูกชนด้วยอนุภาคนิวตรอน เช่น ระเบิดปรมาณู



2.ปฏิกิริยาฟิวชัน (Fussion) เป็นพลังงานที่เกิดจากการรวมตัวของธาตุเบา เช่น การรวมตัวของธาตุ กับ He บนดวงอาทิตย์


3.ปฏิกิริยาที่เกิดจากการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี (Redioactivity) ได้แก่ ยูเรเนียม เรเดียม พลูโตเนียม ฯลฯ ธาตุเหล่านี้จะปลดปล่อยรังสีและอนุภาคต่าง ๆ ออกมา เช่น อนุภาคแอลฟา อนุภาคเบตา รังสีแกมมา และอนุภาคนิวตรอน

4.ปฏิกิริยาที่ได้จากเครื่องเร่งอนุภาคที่มีประจุ (Particale Accelerrator) เช่น โปรตอนอิเล็กตรอน ดิวทีเรียม และอัลฟา



รูปแบบของพลังงานนิวเคลียร์    

สามารถถูกจัดแบ่งออกได้เป็น ประเภท ตามลักษณะวิธีการปลดปล่อยพลังงานออกมา คือ



    1.พลังงานนิวเคลียร์ที่ถูกปลดปล่อยออกมาในลักษณะเฉียบพลัน  เป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่ควบคุมไม่ได้   (Uncontrolled nuclear reactions) พลังงานของปฏิกิริยาจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้เกิดการระเบิด (Nuclear explosion) สิ่งประดิษฐ์ที่ใช้หลักการเช่นนี้ได้แก่ ระเบิดปรมาณู (Atomic bomb) หรือระเบิดไฮโดรเจน และหัวรบนิวเคลียร์แบบต่าง ๆ (ของอเมริกาเรียกว่าจรวด Pershing, ของรัสเซียเรียกว่า จรวดSS-20) 



    2.พลังงานจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ ซึ่งควบคุมได้ ในปัจจุบันปฏิกิริยานิวเคลียร์ซึ่งควบคุมได้ตลอดเวลา (Controlled nuclear reaction) ซึ่งมนุษย์ได้นำเอาหลักการมาพัฒนาขึ้นจนถึงขั้นที่นำมาใช้ประโยชน์ในระดับขั้นการค้าหรือบริการสาธารณูปโภคได้แล้ว มีอยู่แบบเดียว  คือ  ปฏิกิริยาฟิชชันห่วงโซ่ของไอโซโทปยูเรเนียม -235  และของไอโซโทปที่แตกตัวไ  ด้ (Fissile isotopes)  อื่น ๆ  อีก ชนิด   (ยูเรเนียม -233 และพลูโตเนียม -239) สิ่งประดิษฐ์ซึ่งทำงานโดยหลักการของปฏิกิริยาฟิชชันห่วงโซ่ของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ ซึ่งมีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์หรือเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู (Nuclear reactors) 

    3.พลังงานนิวเคลียร์จากสารกัมมันตรังสี  สารกัมมันตรังสีหรือสารรังสี (Radioactive material)    คือสารที่องค์ประกอบส่วนหนึ่งมีลักษณะเป็นไอโซโทปที่มีโครงสร้างปรมาณูไม่คงตัว (Unstable isotipe) และจะสลายตัวโดยการปลดปล่อยพลังงานส่วนเกินออกมาในรูปของรังสีแอลฟา รังสีบีตา รังสีแกมมา หรือรังสีเอกซ์รูปใดรูปหนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งรูปพร้อม ๆ กัน ไอโซโทปที่มีคุณสมบัติดังกล่าวนี้เรียกว่า ไอโซโทปกัมมันตรังสี หรือไอโซโทปรังสี (Radioisotope)





อนุภาคมูลฐานของอะตอม



1. สัญลักษณ์นิวเคลียร์ คือ สัญลักษณ์ที่เขียนแสดงเลขมวลและเลขอะตอม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อนุภาคมูลฐาน

    เลขอะตอม แสดงถึงจำนวนโปรตอนในอะตอม มีค่าเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอน
    เลขมวล แสดงถึงผลรวมของจำนวนโปรตอนกับนิวตรอน

2. ไอโซโทป ไอโซโทน และไอโซบาร์

1. ไอโซโทป คือ ธาตุที่มีเลขอะตอมเหมือนกัน เลขมวลต่างกัน หรือ ธาตุที่มีโปรตอนเท่า แต่ นิวตรอนต่าง
2. ไอโซโทน คือ ธาตุที่มีนิวตรอนเท่า แต่ โปรตอนต่าง
3. ไอโซบาร์ คือ ธาตุที่มีเลขมวลเท่า แต่ เลขอะตอมต่าง


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ไอโซโทป ไอโซโทน ไอโซบาร์ 



3. ธาตุกัมมันตรังสี
    ธาุกัมมันตรังสี คือ ธาตุที่มีสมบัติในการแผ่รังสี
    กัมมันตภาพรังสี คือ ปรากฏการณ์ที่ธาตุแผ่รังสีได้อย่างต่อเนื่อง




หมายเหตุ ถ้าเปรียบเทียบอำนาจทะลุทะลวง แอลฟา บีตา แกมมา จากน้อยไปมากจะเป็น แอลฟา บีตา แกมมา





โรงไฟฟ้านิวเคลียร์  คือ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนชนิดหนึ่งใช้ความร้อนทำให้น้ำเดือดกลายเป็นไอน้ำไปหมุนกังหัน เพื่อหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำการผลิตไฟฟ้า ความแตกต่างอยู่ที่แหล่งกำเนิดความร้อนซึ่งได้มาจากปฏิกิริยานิวเคลียร์แทนที่จะเป็นการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง น้ำมัน ถ่านหิน หรือก๊าซธรรมชาติ

                                                       ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรงงานนิวเคลียร์

                                                       
ความรู้เพิ่มเติม







ความคิดเห็น